When September's Gone

ครั้งแรกที่คุณได้ยินการพูดถึงหนังสือหรือภาพยนต์เรื่อง Frankenstein คือเมื่อไหร่? จำได้ไหม? สำหรับตัวเรา ชื่อของ Frankenstein นั้นมันคุ้นหูมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ  เพราะเราจำได้ว่าเราเคยได้ยินคำอธิบายแบบเห็นภาพว่าเรื่องนี้มันเกี่ยวกับ monster ที่มีน็อตตัวใหญ่ฝังอยู่ในสมอง!!! ด้วยความเป็นเด็กมุ้งมิ้งที่รักสีชมพูและคิตตี้อยู่นั้น เราก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมายกับมันสักเท่าไหร่ เพราะถ้าพูดตรง ๆ  หนังสือที่เราเลือกอ่านในวัยนั้นมันก็จะเป็นแนวแบบ Alice in Wonderland by Lewis Carroll ไปซะเลยทีเดียว


แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ความสีเทา ดำและขาวของชีวิตก็สอนให้เรารู้ว่า “Darker shades of life still are beauty.” การอ่านของเราเลยเริ่มขยายไปในหมวดที่แปลกใหม่และแตกต่างมากยิ่งขึ้น English Literature Class คือวิชาที่ชักพาให้เราได้มารู้จักกับหนังสือ Classic ที่ล้ำค่าหลายเล่มจนจากที่เราเคยแค่อ่านเพื่อสอบวัดผลคะแนน มันก็กลายมาเป็นเราอ่านเพราะ “The Love of Timelessness.” งานเขียนคลาสสิกทุกเล่มที่ได้ชื่อว่าคลาสสิกนั้นก็เพราะว่ามันอยู่ “เหนือกาลเวลา” ดังนั้น ต่อให้เวลาจะผ่านไปอีกกี่ร้อยพันปี หนังสือคลาสสิกเหล่านี้ก็ไม่มีวันตาย


#4 Gothic Horror with 

Frankenstein

 by Mary Shelley


  เมื่อเปิดเรื่อง Frankenstein by Mary Shelley ขึ้นมานั้น ทุกคนก็จะได้เริ่มอ่านจดหมายประมาณสองถึงสามฉบับของ Robert Walton นักเดินทางชาวอังกฤษคนหนึ่งที่เขาได้เขียนไว้ให้กับน้องสาวของเขา Mrs Saville หรือ Margaret เพื่อเล่าถึงความเป็นอยู่ของเขา ความโดดเดี่ยวและเรื่องราวอันน่าตกใจที่เขาเองก็ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีโอกาสได้ประสบพบเจอ ในระหว่างการเดินทางบนเรือสำเภาของเขากับเหล่าลูกเรือที่กำลังมุ่งหน้าไปยังตอนเหนือของทวีปยุโรป 


ซึ่งหนึ่งในเหตุการณ์ที่ Walton ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นก็คือการได้พบกับนักเดินทางอีกคนหนึ่งชื่อ Victor Frankenstein โดยบังเอิญ ท่ามกลางมหาสมุทรน้ำแข็งที่หนาวเย็นกับสุนัขอีกหนึ่งตัวที่ร่วมเดินทางมากับเขา “Only one dog remained alive; but there was a human being within it, whom the sailors were persuading to enter the vessel. He was not as the other traveller seemed to be, a savage inhabitant of some undiscovered island, but a European.”(p.14) หลังจากที่ลูกเรือได้ช่วยให้ Frankenstein ขึ้นมาบนเรือใหญ่ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ทุกคนสังเกตได้ว่าชายผู้นี้อยู่ในสภาพที่เหนื่อยล้าและสะบักสะบอมมากเหลือเกิน Walton จึงให้การดูแลและสถานที่พักผ่อนกับเขาจนกว่าอาการเขาจะดีขึ้น “I never saw a more interesting creature; his eyes have generally an expression of wildness, and even madness,... But he is generally melancholy and despairing; and sometimes he gnashes his teeth; as if impatient of the weight of woes that oppress him.” (p.15)


และเมื่อ Frankenstein อาการดีขึ้นแล้ว Walton ได้หาโอกาสเพื่ออยู่กับ Frankenstein เพียงลำพังเพราะเขาต้องการทำความรู้จักกับชายปริศนาผู้นี้ เขาทั้งสองพูดคุยกันจนมาถึงช่วงที่ Frankenstein ตัดสินใจอยากจะเล่าเรื่องราวของตัวเองว่ามันเกิดอะไรขึ้น...Frankenstein เริ่มต้นเล่าเรื่องชีวิตของเขาตั้งแต่แรกว่า “I am by birth a Genevese…”ซึ่งแปลว่าเขาเป็นพลเมืองของเมือง Geneva ใน Switzerland และเป็นบุตรชายคนโตของ Alphonse Frankenstein และ Caroline Beaufort โดยที่ตัวเขาเองรู้สึกมาตลอดว่า  “No human being could have passed a happier childhood than myself.” (p.27) 


ตั้งแต่ในวัยเด็กแล้วที่ Frankenstein ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์และพลังเหนือธรรมชาติ “While my companion contemplated with a serious and satisfied spirit the magnificent appearances of things, I delighted in investigating their causes. The world was to me a secret which I desired to divine. Curiosity, earnest research to learn the hidden laws of nature, gladness akin to rapture, as they were unfolded to me, are among the earliest sensations I can remember.”(p. 26) ซึ่งความหลงใหลของ Frankenstein นั้นแตกต่างกับลูกพี่ลูกน้องที่ครอบครัวเขารับอุปถัมภ์มาตั้งแต่เด็กอย่าง Elizabeth Lavenza และเพื่อนสนิทของเขาอย่าง Henry Cleval ไปโดยสิ้นเชิง


Frankenstein เล่าว่า “It was the secret of heaven and earth that I desired to learn...still my enquiries were directed to the metaphysical, or in its highest sense, the physical secrets of the world.” (p. 27) โดยต้นแบบของเขาคืออาจารย์ Cornelius Agrippa, Paracelsus, Albertus Magnus, Luigi Galvan, Alessandro Volta และ M. Waldman จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่เขาทำการสำรวจและสังเกตไปรอบ ๆ สุสานแห่งหนึ่งอยู่ “...from the midst of this darkness a sudden light broke in upon me —” ณ วินาทีนั้นเองที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกเดินตามแผนการสร้างสิ่งมีชีวิตที่เหนือกว่ามนุษย์ขึ้นมา เพราะหวังว่าผลงานของเขาจะเป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จให้กับคนรุ่นต่อไป “It was these feelings that I began the creation of a human being.” (p.42)


“It was already one in the morning; 

the rain pattered dismally against the panes, 

and my candle was nearly burnt out, when, 

by the glimmer of half-extinguished light, 

I saw the dull yellow eye of the creature open…”


ความสำเร็จของ Frankenstein กับการสร้างสิ่งมีชีวิตที่เหนือกว่ามนุษย์ขึ้นมานั้น ได้กลับกลายมาเป็นความล้มเหลวที่ใหญ่หลวงที่สุด เมื่อสิ่งมีชีวิตที่เขาพยายามสร้างมาตลอดหลายเดือนได้ฟื้นขึ้นมามีชีวิตจริง ๆ  “...but now that I had finished, the beauty of the dream vanished, and breathless horror and disgust filled my heart.”(p.45) ด้วยความตกใจและผวาอย่างสุดขีด เขารีบวิ่งหนีออกไปข้างนอกจากสิ่งมีชีวิตที่เขาสร้าง นั่นเป็นครั้งแรกที่ Frankenstein ได้เห็น...The creature


แต่มันไม่ใช่ครั้งสุดท้าย...ระยะเวลากว่าสองปีแล้วที่ Frankenstein ผู้รักในวิทยาศาสตร์ การทดลองและพลังเหนือธรรมชาติเดินออกห่างจากสิ่งที่เขารัก เพราะตั้งแต่ครั้งนั้นที่เขาได้พบ The creature ความรู้สึกและการมองโลกของเขาก็ไม่เคยเหมือนเดิมอีกเลย ชีวิตของเขาขับเคลื่อนไปด้วยความกลัว รู้สึกผิดและผวากับการกระทำที่เขาได้ทำไป แต่ทุกทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเป็นความแค้นและอาฆาตอย่างฉับพลัน เมื่อเขาได้เรียนรู้ความจริงหนึ่งที่ว่าน้องชายสุดท้องของเขาได้ถูกฆาตกรรม 


มีเพียง Frankenstein เท่านั้นที่สันนิษฐานว่าตัวเองรู้ว่าใครเป็นคนก่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เขาปลีกตัวเดินทางออกไปนอกเมืองเพียงลำพัง เพราะเขาสับสนและรู้สึกละอายใจเหลือเกินว่าหากทั้งโลกนี้รู้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เขาสร้างขึ้นมาเองกับมือคือคนที่พรากชีวิตน้องของเขาไป เขาจะทำอย่างไร...ทันใดนั้นเอง “I perceived, as the shape came nearer (sight tremendous and abhorred!) that it was the wretch whom I had created.” (p.85) เขาก็ได้พบกับ The creature อีกครั้ง เขาพยายามจะไล่และหนีสิ่งมีชีวิตที่เขาสร้างเพราะความเกลียดและกลัวในใจของเขานั้นมันมากล้นจนเขาควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่แล้ว Frankenstein ก็ค่อย ๆ สงบลงเมื่อ The creature อ้อนวอนขอให้เขาหยุดฟังเรื่องที่มันจะพูดก่อนว่า “Be calm! I entreat you to hear me, before you give vent to your hatred on my devoted head.” (p.86)


ใจจริงแล้ว เราอยากจะเล่าให้ทุกคนฟังมาก ๆ เลยว่า The creature’s tale เป็นอย่างไร และสุดท้ายจุดจบของหนังสือเรื่อง Frankenstein by Mary Shelley เป็นแบบไหน แต่เรามองว่า “Some treasures are needed to be found by yourself.” ของล้ำค่าบางอย่างมันค้นพบแทนกันไม่ได้จริง ๆ  เราเลยอยากทิ้งท้ายคอลัมน์นี้ไว้ให้ทุกคนได้ลองไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันดู เพื่อที่หลังจากอ่านจบทุกคนจะได้มาแบ่งปันความรู้สึกระหว่างอ่านและหลังอ่านกับเราว่าเป็นอย่างไร และจะมีใครไหมที่เห็นด้วยกับเราว่า “Pure heart can be turned to cruel by brutal treatment.”  ดังนั้น เราจึงขอฝากหนังสือแนว Gothic Horror เรื่อง Frankenstein by Mary Shelley เล่มนี้ไว้ในใจของทุกทุกคนด้วยแล้วกันนะ Bon Voyage!


เรื่อง : Princess

ภาพประกอบ : Serm